วงปี่พาทย์

วงปี่พาทย์์   
         วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และยังมีเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า ปี่พาทย์นี้บางสมัยเรียกว่า "พิณพาทย์"  วงปี่พาทย์อาจจำแนกประเภทแตกต่างกันไป  แต่ที่พอจะรวบรวมได้
มีทั้งสิ้น 5 แบบ

1. วงปี่พาทย์เครื่องคู่

 

เป็นวงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยเครื่องทำทำนองเป็นคู่เนื่องด้วยในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีผู้คิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก 2 อย่าง คือ
ระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็ก และนำเอาปี่นอกซึ่งใช้ในการบรรเลงปี่พาทย์สำหรับการแสดง
หนังใหญ่สมัยโบราณมารวมเข้ากับวงปี่พาทย์เครื่องห้าที่มีอยู่เดิม

วงปี่พาทย์เครื่องคู่มีเครื่องดนตรีดังนี้

-ปี่ 1 คู่ คือ ปี่ในและปี่นอก
-ระนาด 1 คู่ คือ ระนาดเอกและระนาดทุ้ม
-ฆ้องวง 1 คู่ คือ ฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็ก
-กลองทัด 1 คู่
  -ตะโพน 1 ลูก
                                                                -ฉิ่ง 1 คู่                                                             
-ฉาบเล็ก 1 คู่
      -ฉาบใหญ่ 1 คู่     
-โหม่ง 1 ใบ
-กลองสองหน้า 1 ลูก (บางทีใช้กลองแขก 1 คู่ แทน) และในบางกรณีอาจใช้กรับด้วย

2. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่



เป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ที่เพิ่มระนาดเอกเหล็กกับระนาด  บางวงก็เพิ่มกลองทัด
รวมเป็น 3 ใบบ้าง 4 ใบบ้าง ส่วนฉาบใหญ่นำมาใช้ในวงปี่พาทย์ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  วงปี่พาทย์ทั้งเครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่อง
ใหญ่ ถ้ามีการบรรเลงเพลงภาษาจะใช้เครื่องดนตรีกำกับจังหวะของภาษานั้น ๆ ด้วย เช่น

-ภาษาเขมร ใช้ โทน
-ภาษาจีน ใช้ กลองจีน กลองต๊อกแต๋ว
-ภาษาฝรั่ง ใช้ กลองมริกัน (อเมริกัน) หรือกลองแตร็ก (side drum, snare drum)
-ภาษาพม่า ใช้ กลองยาว
-ภาษามอญ ใช้ ตะโพน เปิงมาง
3. วงปี่พาทย์นางหงส์



เป็นวงปี่พาทย์ธรรมดาซึ่งใช้บรรเลงทั่วไป แต่เมื่อนำมาใช้ประโคมในงานศพ จะนำวงบัวลอยซึ่งประกอบด้วยปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 1 คู่ และเหม่ง 1 ใบ ที่ใช้ประโคมในงานศพเข้ามาผสม (ดู วงบัวลอย ประกอบ) โดยตัดปี่ใน ตะโพน และกลองทัด ออก ใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายูแทนตะโพนและกลองทัด ส่วนเหม่งนั้นมีเสียงไม่เหมาะกับวงปี่พาทย์จึงไม่นำมาใช้ ใช้แต่โหม่งซึ่งมีอยู่เดิม เรียกว่า "วงปี่พาทย์นางหงส์"
วงปี่พาทย์นางหงส์ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพมาแต่โบราณก่อนวงปี่พาทย์มอญ สาเหตุที่เรียกว่าปี่พาทย์นางหงส์ ก็เพราะใช้เพลงเรื่องนางหงส์ 2 ชั้น เป็นหลักสำคัญในการบรรเลง นอกจากนี้ยังมีวิวัฒนาการไปใช้บรรเลงเพลงภาษาต่าง ๆ เรียกว่า "ออกภาษา" ด้วย
4.วงปี่พาทย์มอญ

ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ได้อิทธิพลมาจากมอญ เช่น ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ และเปิงมางคอก ปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญมี 3 ขนาด ได้แก่
   5.1 วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วยปี่มอญ ระนาดเอก ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
   5.2 วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า แต่เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องมอญวงเล็ก
   5.3 วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่เพิ่ม ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก
             วงปี่พาทย์มอญนั้นที่จริงแล้วใช้บรรเลงในโอกาสต่าง ๆ ได้ทั้งงานมงคล เช่น งานฉลองพระแก้วมรกตในสมัยธนบุรี และงานอวมงคล เช่น งานศพ แต่ต่อมานิยมบรรเลงในงานศพ เนื่องจากท่วงทำนองเพลงมอญมีลีลาโศกเศร้า โหยหวน ซึ่งเหมาะกับบรรยากาศของงาน จนบางท่านนึกว่าปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น

5.วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
             
เป็นวงปี่พาทย์ประสมชนิดหนึ่ง  มีต้นเค้าสืบเนื่องมาจากละครดึกดำบรรพ์  ซึ่งเจ้าพระยา
เทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน  กุญชร)  และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรม
พระยานริศรานุวัตติวงศ์  ร่วมกันปรับปรุงขึ้นโดยอาศัยแนวอุปรากร(Opera)  ของ
ตะวันตกเข้ามาประกอบ  ละครนี้ได้ชื่อตามโรงละคร  ซึ่งเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ตั้ง
ชื่อว่า “โรงละครดึกดำบรรพ์”  ละครก็เรียกว่า “ละครดึกดำบรรพ์” ด้วย วงปี่พาทย์ที่
บรรเลงในการเล่นละครครั้งนี้จึงมีชื่อว่า “ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์”  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์
เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์  ได้ทรงคัดเลือกเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวล
ประสมเข้าด้วยกันให้เหมาะสมกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ คือ  ระนาดเอก(ใช้ไม้
นวม)  ระนาดทุ้ม  ระนาดทุ้มเหล็ก  ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องหุ่ย 7 ใบ  มีเสียงเรียงลำดับกัน 7
เสียง  ขลุ่ยเพียงออ  ตะโพน  กลองตะโพน  ฉิ่ง  ซออู้ (เพิ่มขึ้นภายหลังเมื่อแสดงเรื่อง
สังข์ศิลป์ชัย  ได้ทรงบรรจุเพลงสังขาราซึ่งต้องใช้ซออู้สีประกอบ)  ขลุ่ยอู้ (มีผู้คิดเพิ่ม
ในภายหลัง)
                วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้นอกจากจะเปลี่ยนแปลงการประสมเครื่องดนตรีต่างไป
จากวงปี่พาทย์เดิมแล้ว  ยังได้เปลี่ยนแปลงวิธีการตั้งเครื่องดนตรีอีกด้วย  โดยตั้งระนาด
เอกไว้กลาง  ระนาดทุ้มอยู่ขวา  ระนาดทุ้มเหล็กอยู่ซ้าย  ฆ้องวงใหญ่อยู่หลังระนาดเอก
ส่วนระเบียบวิธีการบรรเลงนั้นก็มีแบบแผนเฉพาะตัว  ไม่เหมือนกับการบรรเลงในการ
แสดงโขนละครโดยทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น